JIT คือ ระบบวิธีการจัดการการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมทั้งลดการผลิตที่เกินความจำเป็น โดย JIT นั้นจะเป็นการผลิตให้กับลูกค้า โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดจำนวนการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิต โดยสิ่งของหรือบริการที่ผลิตในแต่ละขั้นตอนจะมีจำนวนพอดี สำหรับงานนั้น และไม่ต้องเสียเวลาหยุดชะงักจากการรอสิ่งของจากกระบวนการก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้ไม่มีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material) งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้า
สำเร็จรูป (Finished Goods) กลายเป็นศูนย์
ประโยชน์จากการปรับใช้ มีดังนี้
1. ลดค่าใช่จ่ายสำหรับการสั่งวัตถุดิบ
“เงินสด” ส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการจะใช้ไปสำหรับการซื้อวัตถุดิบในการผลิต และใช้เวลานานในการขายให้กับลูกค้า หรือรอเก็บเงินจากลูกค้า ทำให้ขาดกระแสเงินสด ดังนั้นการผลิตแบบ JIT จะเข้ามาลดค่าใช้จ่าย สำหรับเงินที่ถูกใช้ไปจำนวนมากกับวัตถุดิบ
2. ลดค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าคงคลัง
ในการใช้วิธีการผลิตแบบ JIT จะช่วยลดสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า เนื่องจากการผลิตที่ตามความต้องการของลูกค้า ทำให้จำนวนผลิตมานั้นไม่เหลือหรือเหลือน้อย โดยในบริษัทที่ปรับวิธีการผลิตแบบ JIT ไปใช้สามารถลดสินค้าคงเหลือในคลังสินค้าได้ 90 % ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายจากสินค้าคงเหลือได้มาก
3. ลดพื้นที่สำหรับเก็บสินค้า
เมื่อการผลิตแบบ JIT ทำให้การผลิตไม่เหลือสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า อีกหนึ่งสิ่งที่ลดลงตามไปด้วย คือ การใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า โดยจากเคสบริษัทในประเทศอังกฤษ ได้ใช้วิธีการผลิตแบบ JIT ผลลัพธ์ที่ได้ คือ สามารถลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้ 33 % จากการมีสินค้าคงคลังที่ลดลง ทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้เพิ่มเติม
4. ลดค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ในการผลิต
เมื่อจำนวนสินค้าที่ผลิตผ่านกระบวนการผลิตแบบ JIT ดังนั้นสินค้าที่ผลิตออกมามีจำนวนไม่มาก โดยทำให้เราสามารถเลือกเครื่องจักรที่เหมาะสมในราคาที่ถูกลงมาได้ และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่หนักและมีค่าใช้จ่ายสูงในการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ได้ และสามารถวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายในซ่อมบำรุงภายหลังได้
5. ลดระยะเวลา Lead Time
เรื่องของการลดระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยเนื่องจากการมี Supplier ที่พร้อมส่งของให้ตามการซื้อขาย ทำให้ทางบริษัทมีของที่พร้อมกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้หากลูกค้าต้องการสินค้า หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสินค้า ก็พร้อมสำหรับการผลิตอยู่ตลอด และไม่พลาดโอกาสต่างๆที่เกิดขึ้น
6. เพิ่มคุณภาพของสินค้า
ด้วยการผลิตตามความต้องการของลูกค้าและมีจำนวนต่อครั้งที่ผลิตไม่เยอะมาก ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าที่ทำการผลิตได้ดีขึ้น ทำให้สินค้าหรือบริการที่ผลิตออกมานั้น มีคุณภาพที่สูงกว่าการผลิตแบบดั้งเดิม เพราะการผลิตแบบดั้งเดิมจะเป็นการผลิตแบบ Mass Production มากกว่า(การผลิตเน้นจำนวนมาก) โดยคุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ผลิตด้วยกรรมวิธีแบบ JIT มีคุณภาพดีขึ้น 25 %
7. เพิ่มความสามารถในการผลิต
การผลิตแบบ JIT นั้น เป็นการผลิตแบบทันเวลาทันที ที่่มีลูกค้าต้องการสินค้า ดังนั้นทำให้ผู้ประกอบการที่ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบ JIT มีความสามารถในการผลิตที่ค่อนข้างสูง เพราะมีวัตถุดิบและเครื่องจักรที่พร้อมเสมอต่อความต้องการของลูกค้า โดยใช้เวลาไม่นาน สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องรอ Lead time หรือ ขั้นตอนอื่นๆที่อาจจะทำให้เสียเวลา